กฎหมายคอมพิวเตอร์ (160)

กระบวนยุติธรรม (1865)

การเงินการคลัง (504)

การต่างประเทศ (550)

การทหาร (159)

การท่องเที่ยวและกีฬา (104)

การเมือง (1414)

การปกครอง (1628)

การปกครองส่วนท้องถิ่น (144)

การศึกษา (313)

เกษตรและสหกรณ์ (113)

เกาะติด กสทช. (118)

เกาะติดรัฐธรรมนูญใหม่ (76)

เกาะติดกฎหมายดิจิทัล (66)

คดีที่น่าสนใจ (1120)

คมนาคม (233)

ครอบครัวและเยาวชน (208)

งานวิจัยกฎหมาย (434)

ทรัพย์สินทางปัญญา (207)

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (268)

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (396)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) (115)

ผู้บริโภค (314)

พลังงาน (65)

พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ (767)

พาณิชย์ (581)

ตำรวจ (198)

ภาษี-บัญชี (484)

แรงงาน (374)

วัฒนธรรม (60)

วิชาชีพกฎหมาย (1146)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (176)

สวัสดิการ (310)

สาธารณสุข (324)

สิทธิมนุษยชน (861)

อุตสาหกรรม (332)

อสังหาริมทรัพย์ (122)

DOC ID LD531501

เรื่อง
พีรพล ตริยะเกษม

POSTED วันที่ 9 สิงหาคม 2557

การปฏิรูประบบนิติบัญญัติ
การปฏิรูปกฎหมายระบอบประชาธิปไตยคสช.

" ... อนาคตหากจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนี้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปมิให้ระบอบการเมืองอื่นแทรกตัวเข้ามาได้ อาจต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขบางประการ ..."

ณ ขณะนี้ถือได้ว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติชุดปัจจุบันได้เข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างสมบูรณ์  เป็นเสมือนตัวแทนของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกดำเนินไปเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนตามที่คณะ คสช. คาดหวัง  ซึ่งเชื่อแน่ว่าจะประสบความสำเร็จและเป็นความหวังของประเทศชาติ  การสร้างสรรค์ระบบนิติบัญญัติของประเทศไทยนับตั้งแต่เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 จนถึงปัจจุบัน  ซึ่งออกแบบเริ่มต้นโดยคณะราษฎรที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในครั้งนั้น จะประสบผลสำเร็จรุดหน้าไปสอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมไทยปัจจุบัน หรือ จะล้าหลังกลายเป็นเครื่องถ่วงลั้งของสังคม เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งต่อการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติในชุดนี้

การสร้างสรรค์ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ได้หยั่งรากลึกในสังคมไทย จนเป็นระบอบที่สามารถสร้างความมั่นคงทางสังคมและเสถียรภาพทางการเมือง อันสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้เจริญก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ มาได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง สำหรับอนาคตหากจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนี้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนต่อไปมิให้ระบอบการเมืองอื่นแทรกตัวเข้ามาได้ อาจต้องพิจารณาถึงเงื่อนไขบางประการ

ประการที่ 1  จำเป็นจะต้องร่วมกันผลักดัน การปฏิรูประบอบโครงสร้างทางการเมืองอย่างจริงจังและเป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย  ต้องพยายามเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งทางการเมืองให้เป็นพลังทางการเมืองที่มีชีวิตชีวาและเกิดความสามัคคีของประชาชนบนผลประโยชน์ของประเทศชาติ  เร่งกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะไม่ยินยอมให้ใช้ความยากจนมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง และช่วยกันพัฒนาความก้าวหน้าทางสังคมอย่างทั่วด้าน ลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างเมืองกับชนบท  ช่องว่างความร่ำรวยและยากจน  สร้างอารยธรรมทางการเมืองของประเทศไทย โดยเฉพาะไม่เอารูปแบบทางการเมืองของตะวันตกมาใช้โดยไม่มีการประยุกต์

ประการที่ 2  เร่งสร้างระบบนิติบัญญัติโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นระบบและระเบียบ ให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรนิติบัญญัติกับประชาชนเข้ามาร่วมอย่างจริงจังในขบวนการการออกกฎหมายทุกขั้นตอน (โดยเฉพาะกฎหมายที่มีส่วนได้เสียกับประชาชนชนภาคส่วนต่าง ๆ โดยตรง)  ในระบบเดิมที่ผ่านมา  ระบบนิติบัญญัติมักจะอ้างความชอบธรรมในการเป็นผู้แทนของราษฎรเท่านั้น

ประการที่ 3  ปรับปรุงองค์กรนิติบัญญัติให้มีความเข้มแข็ง  เป็นเครื่องมือให้แก่รัฐและประชาชน จัดระบบการออกกฎหมายให้สามารถผลักดันการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และ สังคม ไม่ให้ล้าหลังและไม่ทันต่อสถานการณ์  กล่าวคือ ไม่ยึดรูปแบบของนิติบัญญัติเหมือนที่ผ่านมา  เร่งสร้างคณะกรรมการวิสามัญเพื่อทำงานต่อเนื่องในการแก้ไขกฎหมายที่ล้าสมัย พร้อม ๆ กับตั้งคณะกรรมการขึ้นมาใหม่เพื่อสำรวจตรวจสอบและผลักดันกฎหมายใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก  โดยเฉพาะธุรกิจการค้าและการร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้การออกกฎหมายไปยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรทั่วทั้งประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

ประการที่ 4  เร่งสร้างคลังสมองนิติบัญญัติเพื่อใช้เป็นคู่มือในการศึกษาค้นคว้าและเป็นคันฉ่องของการพัฒนาระบบนิติบัญญัติเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นโดยรู้เท่าไม่ถึงการ

การระดมความคิดและมันสมองต่าง ๆ ของผู้เชี่ยวชาญแล้วนำมาสังเคราะห์และนำกลับมาปฏิบัติจึงจะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคและนำองค์กรนิติบัญญัติสู่การเจริญเติบโตและเข้มแข็ง 

ประการที่ 5  ต้องเร่งระดมและความกระตือรือล้นของสมาชิกสภานิติบัญญัติให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างจริงจังด้วยความเสียสละไม่เห็นประโยชน์แก่ส่วนตน  รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างเหนียวแน่น

ความมุ่งหวังที่จะให้ระบอบนิติบัญญัติมีความเข้มแข็ง จึงเป็นด่านแรกและเป็นด่านที่สำคัญในการที่จะสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มั่นคงและสถาพรตลอดไป

 

พีรพล ตริยะเกษม

8 สิงหาคม 2557